เกาะยาวเป็นหมู่เกาะบริเวณอ่าวพังงาของทะเลอันดามัน มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ล้อมรอบประมาณ 44 เกาะ มีฐานะเป็นอำเภอของจังหวัดพังงา มีเกาะขนาดใหญ่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ 2 เกาะ คือ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 141,067 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่น้ำด้วยก็ประมาณ 700 ตารางกิโลเมตร ห่างจากจังหวัดพังงา 42 กิโลเมตรลักษณะของเกาะเรียงกันในแนวเหนือใต้โดยเกาะยาวน้อยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเกาะยาว และส่วนราชการ เกาะยาวใหญ่เป็นที่ตั้งของตำบลพรุในและตำบลเกาะยาวใหญ่ มีช่องแคบคั่นกลาง กว้างประมาณ 2 กิโลเมตรเท่านั้น
ภูมิศาสตร์ ที่ตั้งอำเภอเกาะยาวตั้งอยู่บนเกาะในทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่ในเขตการปกครอง ทั้งหมดจำนวน 44 เกาะ ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่เกาะยาวน้อย ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยาวน้อย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 137 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับท้องที่ใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ลักษณะภูมิประเทศ อำเภอเกาะยาวประกอบไปด้วยเกาะเล็กเกาะน้อย จำนวน 44 เกาะ แต่เกาะที่ราษฎรใช้เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพตั้งหลักแหล่งมีเพียง 2 เกาะ คือ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และป่าไม้ ที่ราบสำหรับการทำนาและทำสวนมีอยู่บ้างบริเวณชายทะเล และระหว่างภูเขา ลักษณะภูมิอากาศ กิ่งอำเภอเกาะยาวมีสภาพดินฟ้าอากาศเหมือนกับจังหวัดภูเก็ต แบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน สภาพอากาศในฤดูร้อน ไม่ร้อนนัก เนื่องจากได้รับลมจากทะเลตลอด ฤดูกาล ส่วนในฤดูฝนได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ฝนตกชุกและเกือบตลอดปี ข้อมูลทางสังคม ประวัติความเป็นมาอำเภอเกาะยาว บรรพบุรุษชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากชายฝั่งเมืองตรัง เมืองสตูล และเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ. 2328 คราวพม่ายกทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางภาคใต้ และตีได้หัวเมือง ตามชายฝั่งทะเล ด้านตะวันตก จนกระทั่งได้พบเกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ และเห็นว่า สองเกาะนี้เป็นทำเลที่เหมาะสมที่จะหลบ ภัยได้ดี จึงได้ยึดเป็นที่หลบภัยและตั้งหลักแหล่ง ทำมาหากินก่อนปี พ.ศ. 2446 แบ่งการปกครองเป็น 2 ตำบล 24 หมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับอำเภอ เมืองพังงา มีนายบ้าน(กำนัน) เป็นผู้ดูแลใกล้ชิดราษฎร ที่ทำงานสร้างเพียงศาลาเล็ก ๆ ขึ้นไว้เรียกว่า”ทำเนียบ” สำหรับเจ้าหน้าที่อำเภอ เก็บภาษีเป็นครั้งคราว การเดินทางใช้ เรือแจวหรือเรือใบ และต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายชั่วโมงหรือหลายวัน หากเป็น ฤดูมรสุม ในปีพ.ศ. 2446 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า “กิ่งอำเภอเกาะยาว” แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎว่าหัวหน้าปกครองเป็นใคร คงใช้ทำเนียบเป็นสถานที่ทำงาน ต่อมาในปีพ.ศ. 2463 ได้มีปลัดอำเภอเป็นหัวหน้าฝ่ายปกครองคนแรกคือ นายชื่น วาศนาวิน ได้เปลี่ยนชื่อทำเนียบเป็น”ที่ว่าการกิ่งอำเภอ” ต่อมานายยศ เปลี่ยนศรีปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่งอำเภอ (พ.ศ. 2487-2492) ได้เป็นผู้นำราษฎรสร้าง ที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยไม่ได้ อาศัยงบประมาณจากทางราชการ และได้ใช้มา จนถึง พ.ศ. 2508 ก็ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ในการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังใหม่ เป็น อาคารเรือนไม้สองชั้น ตามแบบของกรม โยธาธิการ เป็นอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังที่ 3 และได้ใช้เป็น สถานที่ทำงานของกิ่งอำเภอมาจน ตราบเท่าทุกวันนี้ ปัจจุบันได้ยกฐานะ ขึ้นอำเภอเกาะยาว
ตำบลเกาะยาวใหญ่
1. สภาพทั่วไป
1.1 ที่ตั้ง
สำนักงานเทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอเกาะยาว บนพื้นที่บ้านช่องหลาด หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดพังงาประมาณ 48.5 กิโลเมตร
1.2 เนื้อที่
เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่มีพื้นที่ 43.75 ตร.กม. หรือประมาณ 27,282 ไร่
1.3 ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ ที่ราบสำหรับการทำนาและทำสวนมีอยู่บ้างบริเวณชายทะเลและระหว่างภูเขา มีสภาพดินฟ้าอากาศแบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน สภาพอากาศในฤดูร้อน ไม่ร้อนนัก เนื่องจากได้รับลมจากทะเลตลอดฤดูกาล ส่วนในฤดูฝนได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ฝนตกชุกเกือบตลอดปี
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดอ่าวพังงาและตำบลเกาะยาวน้อย
ทิศตะวันออก ติดทะเลอันดามันและน่านน้ำจังหวัดกระบี่
ทิศตะวันตก ติดทะเลอันดามันและน่านน้ำจังหวัดภูเก็ต
ทิศใต้ ติดกับตำบลพรุใน
1.4 เขตการปกครอง
เขตการปกครองของเทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่นั้น แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 ซึ่งมีทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านคลองเหีย มีพื้นที่ประมาณ 7,044 ไร่
หมู่ที่ 2 บ้านช่องหลาด มีพื้นที่ประมาณ 4,456 ไร่
หมู่ที่ 3 บ้านย่าหมี มีพื้นที่ประมาณ 8,864 ไร่
หมู่ที่ 4 บ้านคลองบอน มีพื้นที่ประมาณ 6,918 ไร่
2.2 พืชเศรษฐกิจ
ตำบลเกาะยาวใหญ่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก ประมาณ 8,110 ไร่ ส่วนมากเป็นแบบผสมผสาน และมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้
- ยางพารา 6,230 ไร่
มะพร้าว 1,066 ไร่
- ข้าว 513 ไร่
สะตอ 160 ไร่
- ปาล์มน้ำมัน 90 ไร่
ทุเรียน ลองกอง กระท้อน และอื่นๆ 51 ไร่
ความเห็นล่าสุด